วิสัยทัศน์ (Vision)

โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ "สืบสาน สร้างคนดี มีคุณภาพ HAPPY LIFE HAPPY SCHOOL โรงเรียนต้นแบบเชิงรุก ภาษาต่างประเทศที่สอง"

พันธกิจ (Mission)

        ๑. สืบสานศาสตร์พระราชา หลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ ๙ และพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๑๐ ตามบริบทของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

        ๒. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติและการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

       ๓. จัดการศึกษาทุกระดับให้มีความปลอดภัยและสถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

       ๔. สร้างโอกาส ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง  และเท่าเทียม

       ๕. ส่งเสริมผู้เรียนให้มีความสามารถความเป็นเลิศทางวิชาการเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน

       ๖. พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลกรทางการศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองทิศทางการพัฒนาประเทศ

       ๗. พัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

        ๘. สร้างคนดีด้วยอัตลักษณ์คุณธรรม “ระเบียบวินัยดี มีความรับผิดชอบ รอบคอบจิตอาสา นำพาความพอเพียง คู่เคียงความซื่อสัตย์ ปฏิบัติความกตัญญู (อุดมการณ์)”

       ๙. ยกระดับโรงเรียนต้นแบบเชิงรุกภาษาต่างประเทศที่สองด้วยการส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศที่สอง (ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น) สู่การแข่งขันทุกระดับ

       ๑๐. ลดภาระครู ๖ล ด้วย KIDS DEE by My Office   

       ๑๑. จัดการศึกษาระดับปฐมวัยด้วยรูปแบบบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย, EF & BBL

       ๑๒. จัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศด้วยงานวิจัย

       ๑๓. พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้วยกิจกรรมสร้างคนดี ลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน, Junior Scout , Happy Friday และบริษัทสร้างการดี

       ๑๔. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นศึกษานิเทศก์ของโรงเรียน โดยรูปแบบการ Coaching & Mentoring ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

       ๑๕. สร้างเครือข่ายระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ทันสมัย

       ๑๖. ยกระดับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เป็นไปตามธรรมชาติของการเรียนรู้ โดยเน้นการสื่อสาร (Communicative Language Teaching : CLT) ทุกระดับ

       ๑๗. ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของครูให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ที่เน้นการสื่อสาร (CLT)
และเป็นไปตามกรอบความคิดหลัก CEFR

       ๑๘.ส่งเสริมการใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาความสามารถทางภาษาของครูและผู้เรียนห้องเรียนพิเศษ Anywhere Anytime  ทุกระดับ

       ๑๙. ส่งเสริมการวัดความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป (The Common European Framework of Reference for Languages : CEFR) เมื่อจบช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖  และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ สำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ

เป้าประสงค์ (Goals)

         ๑. ผู้เรียนมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีหลักคิดที่ถูกต้องและเป็นพลเมืองดีของชาติ มีคุณธรรมอัตลักษณ์ “ระเบียบวินัยดี มีความรับผิดชอบ รอบคอบจิตอาสา นำพาความพอเพียง คู่เคียงความซื่อสัตย์ ปฏิบัติความกตัญญู (อุดมการณ์)” รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น

         ๒. ผู้เรียนมีทักษะการสื่อสารด้านภาษาไทย อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น และเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างอาชีพในอนาคต ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ สร้างความสามารถในการแข่งขันระดับชาติและนานาชาติ

         ๓. ผู้เรียนมีสมรรถนะทางด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปะดนตรี กีฬาและอื่นๆ

         ๔. ผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คิดริเริ่มและสร้างสรรค์ นวัตกรรม มีความรู้ มีทักษะ มีสมรรถนะตามหลักสูตรและคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑

         ๕. ผู้เรียนมีสุขภาวะที่เหมาะสมตามวัย มีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเป็นพลเมือง พลโลกที่ดี (Global Citizen) พร้อมก้าวสู่สากล นำไปสู่การสร้างความสามารถในการแข่งขัน 

         ๖. ผู้เรียนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียมและมีคุณภาพ

         ๗. ผู้เรียนจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล

         ๘. ผู้เรียนระดับปฐมวัยมีพัฒนาการครบทั้ง ๔ ด้าน ตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์

         ๙. นักเรียนห้องเรียนพิเศษ ด้านภาษาอังกฤษ (Mini English Program : MEP) ได้เรียนวิชาต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษไม่น้อยกว่า ๑๕ ชั่วโมงโดยครูชาวต่างชาติเจ้าของภาษา/หรือผู้ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าเป็นผู้สอน ยกเว้นภาษาไทยและรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย และศิลปวัฒนธรรมไทย

         ๑๐. นักเรียนห้องเรียนพิเศษ ด้านภาษาอังกฤษ (Mini English Program : MEP) มีศักยภาพด้านภาษาอังกฤษ ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารทางสังคม (Social Interaction) และด้านวิชาการ (Academic Literacy) การจัดห้องเรียนสนทนาภาษาอังกฤษ (Conversation Class) ที่เน้นทักษะการฟังและการพูด อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๒ ชั่วโมง รวมถึงการพัฒนาหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ

         ๑๑. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีความรู้และจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพ

         ๑๒. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษามีภาวะผู้นำทางการศึกษา และการเป็นศึกษานิเทศก์ของโรงเรียน โดยรูปแบบการ Coaching & Mentoring ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

         ๑๓. ครูผู้สอนห้องเรียนพิเศษด้านภาษาอังกฤษ (Mini English Program : MEP) มีความสามารถและความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่กำหนด ตามกรอบอ้างอิง CEFR และมีความสามารถในการสอนภาษาอังกฤษแบบสื่อสาร (CLT)

         ๑๔. ครูผู้สอนเน้นการสื่อสารที่เริ่มจากการฟัง ตามด้วยการพูด การอ่าน และการเขียนตามลำดับ

         ๑๕. ครูผู้สอนใช้รูปแบบวิธีการที่แตกต่างกัน ตามสภาพบริบทและความพร้อม โดยมีทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษด้านภาษาอังกฤษ (Mini English Program : MEP) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีมาตรฐาน และส่งผลต่อความสามารถด้านภาษาอังกฤษของผู้เรียนห้องเรียนพิเศษด้านภาษาอังกฤษ (Mini English Program : MEP)

         ๑๖. สถานศึกษาจัดการศึกษาโดยยุทธศาสตร์ Hybrid School เพื่อสังคมอนาคตที่ยั่งยืน By My office , School Bright และ Canva Site

         ๑๗. สถานศึกษามีสมดุลในการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ มีการกำกับติดตามประเมินผล มีระบบข้อมูลสารเทศที่มีประสิทธิภาพ และการรายงานผลอย่างเป็นระบบ ใช้งานวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาด้วยรูปแบบ KIDS MODEL ,รูปแบบบ้านเล็กในป่าใหญ่  และ รูปแบบ KIDS DEE

         ๑๘. สถานศึกษามีระบบรับส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ My Office เพื่อการจัดเก็บเอกสารอย่างเป็นระบบ และลดภาระครู ๖ ล ด้วย KIDS DEE by My Office

         ๑๙. สถานศึกษามีเครือข่ายระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ทันสมัย กำกับติดตามด้วยระบบออนไลน์ และลดภาระครู ๖ ล ด้วย KIDS DEE by My Office

         ๒๐. สถานศึกษาจัดค่ายภาษาอังกฤษแบบเข้ม ระยะเวลา ๒-๔ สัปดาห์ (๘๔-๑๗๐ชั่วโมง) ในช่วงปิดภาคเรียน สำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษด้านภาษาอังกฤษ (Mini English Program : MEP)

         ๒๑. สถานศึกษาพัฒนาความสามารถทางภาษาของครูและผู้เรียนห้องเรียนพิเศษด้านภาษาอังกฤษ (Mini English Program : MEP) ในการนำสื่อ ICT มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การเรียนรู้และฝึกฝนทักษะทางภาษาเพื่อกระตุ้นและสร้างการเรียนรู้ผ่านโลกดิจิทัล

         ๒๒. สถานศึกษาสรรหาและผลิต e-Content, Learning Appications แบบฝึกและแบบทดสอบที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพสำหรับการเรียนรู้ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้ช่องทางการเรียนรู้ผ่านโลกดิจิทัล เช่น การเรียนรู้การฟัง  การออกเสียงที่ถูกต้องตาม Phonics จากสื่อดิจิทัล รวมไปถึงการจัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศที่ส่งเสริม และกระตุ้นการฝึกภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ทั้งในและนอกห้องเรียน สำหรับครูและผู้เรียนห้องเรียนพิเศษด้านภาษาอังกฤษ (Mini English Program : MEP)

         ๒๓. สถานศึกษานำกรอบ CEFR กำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนการสอน/การพัฒนา โดยใช้ระดับความสามารถ ๖ ระดับของ CEFR เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละระดับ (ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ประถมศึกษาปีที่ ๖ ใช้ภาษาขั้นพื้นฐาน A๑ และผู้สำเร็จการศึกษาภาคบังคับ มัธยมศึกษาปีที่ ๓ ใช้ภาษาขั้นพื้นฐาน A๒) 

กลยุทธ์ (Stategies)

     กลยุทธ์ที่ ๑  สนับสนุนการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ

     กลยุทธ์ที่ ๒  ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความปลอดภัยจากภัยทุกรูปแบบ

     กลยุทธ์ที่ ๓  เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน

     กลยุทธ์ที่ ๔  ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑

     กลยุทธ์ที่ ๕  ส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นครูมืออาชีพ
      กลยุทธ์ที่ ๖  เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา 

ค่านิยมขององค์กร (Identity) 

“รู้ รัก สามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูล เพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผล ธำรงไว้ซึ่งคุณธรรม” 

เอกลักษณ์ของโรงเรียน

อัตลักษณ์ของโรงเรียน

“โรงเรียนของพระราชา” 

“คนดี คนเก่ง มีคุณภาพ”

อัตลักษณ์คุณธรรมของโรงเรียน

ระเบียบวินัยดี  มีความรับผิดชอบ   รอบคอบจิตอาสา  นำพาความพอเพียง   คู่เคียงความซื่อสัตย์  ปฏิบัติความกตัญญู (อุดมการณ์คุณธรรม)